บทที่ 4 การสื่อสารข้อมูลบนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1.สื่อกลางประเภทมีสาย มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง จงเปรียบเทียบ
  การแชร์หรือการใช้ทรัพยากรร่วมกัน
1. แชร์ฮาร์ดแวร์ อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่ผู้ใช้สามารถใช้ร่วมกัน แบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ คือ
หน่วยความจำ (Mass Storage Server) ได้แก่ ฮาร์ดิสก์ เทปไดรฟ์ และออปติกคัลดิสก์
อุปกรณ์เอาท์พุท (Output Server) ได้แก่ เครื่องพิมพ์แบบดอตเมตริกซ์ แบบอิงค์เจ็ต หรือแบบเลเซอร์ เครื่องฉายวิดีโอโปรเจคเตอร์ และจอวิดีโอขนาดใหญ่ เป็นต้น อุปกรณ์การสื่อสาร (Communication Server) ได้แก่ โมเด็ม บริดจ์ เราเตอร์ เกตเวย์ และเครื่องแฟกซ์ เป็นต้น
2. แชร์ซอฟต์แวร์ ผู้ใช้สามารถเรียกใช้ซอร์ฟแวร์ซึ่งเครื่อง PC ของตนไม่มีซอร์ฟแวร์นี้ติดตั้งอยู่ เช่น เครื่องที่ใช้อยู่ไม่สามารถใช้โปรแกรมบางโปรแกรมได้ สามารถที่จะเรียกใช้โปรแกรมจากเครื่องที่สามารถใช้ได้มาทำงานในเครื่อง PC ของตน รวมทั้งยังสามารถสั่งพิมพ์ที่เครื่องพิมพ์ที่เชื่อมต่อในเครือข่ายได้
      3. แชร์ไฟล์ข้อมูล ไฟล์ข้อมูลเพียงไฟล์เดียวที่อยู่ในไฟล์เซิร์พเวอร์ สามารถให้บริการเรียกใช้จากผู้ใช้ได้ทีละหลายคน เป็นการประหยัดเนื้อที่หน่วยความจำในการเก็บรักษาไฟล์ข้อมูล  นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถติดต่อขอใช้หรือเรียกดูไฟล์ข้อมูลจากเครือข่ายภายนอก ผ่านทางเราเตอร์หรือเกตเวย์ได้อีกด้วย
ประหยัดค่าใช้จ่าย
        1. ประหยัดฮาร์ดแวร์ เช่น สามารถใช้เครื่องพิมพ์ประสิทธิภาพสูง (ราคาแพง) เพียงเครื่องเดียวรองรับงานพิมพ์ที่ต้องการคุณภาพและความรวดเร็วได้ทั้งสำนักงาน
        2. ประหยัดค่าซอร์ฟแวร์ เพราะมีซอร์ฟแวร์อยู่เพียงก็อบปี้เดียวก็สามารถเรียกใช้ได้ทั่วกัน         
        3. สามารถรวมเป็นเครือข่ายเดียวกัน ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในส่วนของงานที่ซ้ำซ้อนได้
        4. ประหยัดค่าติดตั้งและค่าดูแลรักษา เพราะระบบใหม่สามารถติดตั้งได้ง่ายและสามารถนำเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่มีอยู่เดิมมาใช้งานได้อีก
 สะดวกกับผู้ใช้งาน
        1. ผู้ใช้สามารถเข้าสู่เครือข่ายได้ง่าย
        2. ตัดปัญหาเรื่องไฟล์ข้อมูลหายหรือต้องเตรียมไฟล์ข้อมูลสำรอง เพราะไฟล์เซิร์ฟเวอร์จะทำหน้าที่สำรองข้อมูลแทนให้
        3. สะดวกกับผู้ใช้งานจากจุดหนึ่งที่จะเข้าไปใช้ไฟล์ข้อมูลของผู้ใช้งานในอีกจุดหนึ่งซึ่งใช้เก็บสำรองไฟล์ข้อมูลนั้นไว้ในไฟล์เซิร์ฟเวอร์
        4. สามารถส่งข้อความตอบโต้กันระหว่างผู้ใช้ได้ง่ายด้วยไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
        5. ผู้ใช้สามารถเลือกใช้ฮาร์ดแวร์คุณภาพดีๆได้
        6. ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารข้อมูล ข้อความ และซอร์ฟแวร์กับระบบอื่นภายนอกเครือข่ายได้ง่าย
        7. สามารถส่งข้อมูลได้ด้วยอัตราเร็วสูง สะดวก รวดเร็วยิ่งขึ้น (ขึ้นอยู่กับชนิดของสายสื่อสารและรูปแบบการเชื่อมโยงเครือข่ายด้วย)
Ø ข้อเสียและข้อจำกัดของ LAN  
1.ยังมีระบบอื่นที่ยังสามารถทำงานได้ดีเช่นเดียวกันหรือดีกว่าสำหรับงานในระบบสำนักงาน เช่น ระบบ online ซึ่งมีใช้กันมาก่อนระบบ LAN ระบบสวิตชิ่งดิจิตอล PABX หรือตู้ชุมสายอัตโนมัติในอาคารซึ่งสามารถสื่อสารข้อมูลทั้งเสียงและข้อมูลได้เช่นเดียวกับ LAN โดยผ่านทางสายโทรศัพท์
2.ซอร์ฟแวร์ที่ใช้กับระบบ LAN ในปัจจุบันยังพัฒนาได้ไม่ดีเทียบเท่ากับซอร์ฟแวร์ในระบบของเครื่องมินิคอมพิวเตอร์หรือเมนเฟรมซึ่งมีมาก่อน และราคาของซอร์ฟแวร์เฉพาะสำหรับระบบ LAN ยังมีราคาสูงอยู่
3.ระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลยังไม่ดีพอเมื่อเทียบกับระบบในเครื่องมินิคอมพิวเตอร์หรือเมนเฟรม
4.เนื่องจากคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่นๆมีความหลากหลายอยู่มาก จึงยากต่อการควบคุมให้มีมาตรฐานการทำงานแบบเดียวกัน และยุ่งยากต่อการดูแลรักษา
5.ระบบฐานข้อมูลเป็นแบบกระจายไปตามจุดผู้ใช้ต่างๆจึงทำให้ไม่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.สื่อกลางประเภทไม่มีสาย มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง จงเปรียบเทียบ
Ø ข้อดีของระบบ Wireless LAN          1. สะดวกในการเคลื่อนย้าย ติดตั้ง เนื่องจาก WLAN ไม่จำเป็นต้องมีสายเคเบิ้ลต่อพ่วง
          2. ง่ายในการติดตั้ง เพราะไม่จำเป็นต้องเดินสายเคเบิ้ล
          3. ลดค่าใช้จ่าย เนื่องจากไม่ต้องจำเป็นต้องเสียค่าบำรุงรักษา ในระยะยาว
          4. สามารถขยายเครือข่ายได้ไม่จำกัด
Ø ข้อเสียของระบบ Wireless LAN
          1. มีอัตราการลดทอนสัญญาณสูง นั่นหมายความว่า ส่งสัญญาณได้ระยะสั้น
          2. มีสัญญาณรบกวนสูง
          3. ต้องแชร์กันใช้ช่องสัญญาณคลื่นความถี่เดียวกัน
          4. ยังมี หลายมาตรฐาน ตามผู้ผลิต แต่ละราย ทำให้มีปัญหาในการใช้งานร่วมกัน
          5. ราคาแพงกว่าระบบเครือข่ายแบบมีสาย
          6. มีความเร็วไม่สูงมากนัก
3.PAN และ SAN คืออะไรจงอธิบาย
Ø ระบบเครือข่ายPAN
ระบบเครือข่าย Pan
เครือข่าย ส่วนบุคคล หรือ แพน (Personal area network) : PAN)PANPAN คือ "ระบบการติดต่อสื่อสารไร้สายส่วนบุคคล" ย่อมาจาก Personal Area Network หรือเรียกว่า BluetoothPersonal Area Network (PAN)คือเทคโนโลยีการเข้าถึงไร้สายในพื้นที่เฉพาะส่วนบุคคล โดยมีระยะทางไม่เกิน 1เมตร และมีอัตราการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงมาก (สูงถึง 480 Mbps) ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้กันแพร หลาย ก็เช่น• Ultra Wide Band (UWB) ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.3a• Bluetooth ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.1• Zigbee ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.4เทคโนโลยีเหล่านี้ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง(peripherals) ให้สามารถรับส่งข้อมูลถึงกันได้ และยังใช้สำหรับการรับส่งสัญญาณวิดีโอที่มีความละเอียดภาพสูง (high-definition video signal) ได้ด้วยPersonal Area Network (PAN)ช่วยให้เราสามารถจัดการข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต่างๆที่เคลื่อนที่ไปมาได้อย่างหลากหลายคิดค้นโดยนักวิจัยของ MIT รวมกับIBM โดยจะสร้างกระแสไฟฟ้าแรงต่ำ (ระดับพิโคแอมป ) ออกไปตามผิวหนังโดยเครื่องรับสัญญาณตามจุดต่างๆ ของร่างกายสามารถรับสัญญาณได้ เทคโนโลยีนี้จะเหมาะกับการใช้งานทางการแพทย์ เพราะอุปกรณ์ โดยมากจะมีการติดตั้งตามลำตัวมนุษย์พัฒนาโดย Bluetooth Special Interest Group (http://www.bluetooth.com/) เริ่มก่อตั้งในปี 1998 ด้วยความร่วมมือกันระหว่าง Ericsson, IBM, Intel, Nokia และ Toshiba ซึ่ง Bluetooth (บลูทูธ) การสื่อสารระยะสั้น (Short-range Transmission) ที่ติดต่อสื่อสารแบบดิจิตอล โดยสามารถส่งและติดต่อข้อมูลแบบ Voice และ Data ระหว่างอุปกรณ์ที่เป็นคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือต่างๆ (PC, Laptop, PDA, Mobile phone ฯลฯ) โดยการติดต่อสื่อสารสามารถทำได้ทั้งแบบ point-to-point และ Multi-pointข้อดี-ข้อเสียของ Personal Area Network (PAN)ข้อดีคือ1. สะดวกต่อการใช้งาน2. สามารถรับส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว3. มีการรับรองเครือข่าย4. สามารถนำอุปกรณ์ต่างๆมาใช้ร่วมกันได้ข้อเสีย คือ1. สื่อสารได้ไม่เกิน 1 เมตร2. การส่งข้อมูลอาจเกิดข้อผิดพลาดได้3. ติดไวรัสได้ง่าย4. ราคาแพงประโยชน์และการนำมาประยุกต์ใช้จากการที่กลุ่มของเราได้ศึกษาเกี่ยวกับ Personal Area Network (PAN) กลุ่มของเราได้รวบรวมความคิดและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันที่ จะประดิษฐ์ แว่นตาที่สามารถส่งสัญญาณผ่านเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว โดยการประมวลภาพจากสิ่งที่เห็น แล้วแปลงเป็นคลื่นสัญญาณส่งผ่านข้อมูลไปยังเครื่องรับข้อมูลกลาง แล้วเครื่องรับข้อมูลกลางก็จัดส่งข้อมูลไปยังเครื่องรับตัวอื่นๆด้วยเครือข่ายพื้นที่ส่วนบุคคลบลูทูธ (PAN) เป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่ทำให้คุณสามารถสร้างเครือข่าย อีเทอร์เน็ต ด้วยการเชื่อมต่อแบบไร้สายระหว่างคอมพิวเตอร์แบบเคลื่อนที่ โทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์แบบพกพาต่างๆ คุณสามารถเชื่อมต่อกับชนิดของอุปกรณ์ที่รองรับบลูทูธซึ่งใช้กับ PAN ได้ดังต่อไปนี้ อุปกรณ์สำหรับผู้ใช้เครือข่ายพื้นที่ส่วนบุคคล (PANU) อุปกรณ์ที่ให้บริการในเครือข่ายเฉพาะกิจแบบกลุ่ม (GN) หรืออุปกรณ์ในจุดเข้าใช้งานเครือข่าย (NAP)ต่อไปนี้เป็นข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำงานของอุปกรณ์แต่ละชนิดดังกล่าวอุปกรณ์ PANU การเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ PANU ที่รองรับบลูทูธจะสร้าง เครือข่ายเฉพาะกิจ ซึ่งประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ของคุณและอุปกรณ์ดังกล่าวอุปกรณ์ GN การเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ GN ที่รองรับบลูทูธจะสร้างเครือข่ายเฉพาะกิจซึ่งประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ของคุณ อุปกรณ์ GN ดังกล่าว และอุปกรณ์ PANU ใดๆ ที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ GN เดียวกันอุปกรณ์ NAP การเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ NAP ที่รองรับบลูทูธจะช่วยให้คุณสามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของคุณกับ เครือข่าย ที่ใหญ่กว่า เช่น เครือข่ายภายในบ้าน เครือข่ายภายในบริษัท หรืออินเทอร์เน็ตหมายเหตุโทรศัพท์มือถือและเครื่องช่วยงานส่วนบุคคลแบบดิจิทัล (PDA) บางเครื่องสามารถใช้งานได้เฉพาะกับเครือข่ายการเรียกผ่านสายโทรศัพท์ บางเครื่องใช้ได้เฉพาะกับเครือข่าย PAN และบางเครื่องสามารถใช้ได้กับบริการทั้งสองแบบ เมื่อต้องการค้นหาว่าอุปกรณ์ที่รองรับบลูทูธของคุณจะสามารถใช้งานได้กับบริการใด ให้ตรวจสอบข้อมูลที่มากับอุปกรณ์
Ø ระบบเครือข่าย SAN คืออะไร

SAN เป็นระบบเครือข่ายของที่เก็บข้อมูล โดยนำอุปกรณ์ที่จัดเก็บข้อมูลมาติดตั้งรวมกันเป็นเครือข่าย มีระบบจัดการข้อมูลบนเครือข่ายที่ทำให้รับส่งข้อมูลได้รวดเร็ว ทำให้ข้อมูลที่เก็บเสมือนเป็นส่วนกลางที่แบ่งให้กับซีพียูหลายเครื่องได้

การจัดเก็บที่เก็บแบบนี้จึงต้องสร้างสถาปัตยกรรมใหม่ เพื่อให้รองรับระบบดังกล่าว การทำงานนี้จึงคล้ายกับการสร้างเครือข่ายของที่เก็บข้อมูลแยกต่างหาก เป็นการสร้างระบบจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่อย่างมีประสิทธิภาพได้ และสามารถใช้งานได้ดีกว่าแบบเดิม ด้วยเหตุผลที่แนวโน้มของการเก็บข้อมูลข่าวสารความรู้ในองค์กรมีมาก การดูแลฐานความรู้และข้อมูลข่าวสารขนาดใหญ่ จำเป็นต้องมีการสร้างระบบเพื่อรองรับองค์กรในอนาคต SAN จึงเป็นทางเลือกหนึ่งของการบริหารและจัดเก็บข้อมูลบนเครือข่าย มีความเชื่อถือได้ในระดับสูงกำลังจะกลายเป็นของคู่กันสำหรับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดกลางและขนาดใหญ่ในอนาคตในบ้านเรา แต่สำหรับในต่างประเทศ เรื่องนี้กลายเป็นเรื่องปกติ
Storage Area Network หรือ SAN เป็นระบบโครงสร้างที่มีการเชื่อมต่อทางข้อมูลข่าวสารระหว่างกลุ่มของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่ล้ำหน้า ที่จะช่วยให้สามารถจัดเก็บและดึงข้อมูลขนาดใหญ่ หรือปริมาณมหาศาล ออกมาใช้งานได้อย่างรวดเร็ว ปลอดภัย และง่ายต่อการบริหารจัดเก็บข้อมูล ระบบของ SAN ไม่ใช่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของการจัดเก็บข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หมายความว่า SAN ไม่ได้อยู่ในเครือข่ายแลน แต่อยู่ด้านหลังของเซิร์ฟเวอร์ต่างๆ โดยทำหน้าที่ดูแลการจัดเก็บ และปลดปล่อยข้อมูลเพื่อสนองตอบกลุ่มของเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งได้รับการร้องขอจากกลุ่มของไคลเอนต์บนเครือข่ายอีกทีหนึ่ง ดังนั้น SAN จึงไม่ใช่อุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่ง หรือคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง แต่เป็นระบบบริหารการจัดเก็บและดูแลกลุ่มของอุปกรณ์การจัดเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสูง โดยกลุ่มของอุปกรณ์การจัดเก็บข้อมูลเหล่านี้ มีการเชื่อมต่อกันทางด้านเครือข่ายก็จริง แต่ไม่ได้เชื่อมต่อผ่านทาง Switching Hub ธรรมดา แต่อาจเชื่อมต่อกันด้วยระบบ Fiber Channel Hub หรือ Switch หรือ เทคโนโลยีอื่น ๆ ที่กำลังจะมีมาในอนาคต
        SAN สามารถให้ความยืดหยุ่นในการบริการจัดการกับระบบ รวมทั้งการจัด Configuration ซึ่งในที่นี้หมายถึง ความยืดหยุ่นสูงในการกำหนด ขนาดหรือลดขนาดการบรรจุเก็บข้อมูลข่าวสารของระบบ
เราสามารถเพิ่มหรือลดจำนวนของเซิร์ฟเวอร์หรืออุปกรณ์จัดเก็บได้เต็มที่ โดยไม่กระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของ SAN นอกจากนี้ภายใต้ระบบ SAN สามารถมีเซิร์ฟเวอร์หลาย ๆ ตัว หรือเป็นจำนวนมาก ที่สามารถเข้ามา Access ใช้งานในกลุ่มของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล ที่ดูแลภายใต้ SAN ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
 
 

แบบฝึกหัดบทที่1 เทคโนโลยีสารสนเทศ



เทคโนโลยีสารสนเทศ 1
1.          จงอธิบายความหมายของคำดังต่อไปนี้ พร้อมยกตัวอย่างเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน
v   เทคโนโลยี    หมายถึง   การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ หรือความรู้ด้านอื่นๆ ที่ได้จัดระเบียบดีแล้วมาประยุกต์ใช้ในด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อให้งานนั้นมีความสามารถและประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น   
            ยกตัวย่างเช่น   โทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต
v สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ หรืออาจกล่าวได้ว่า สารสนเทศ เกิดจากการนำข้อมูล ผ่านระบบการประมวลผล คำนวณ วิเคราะห์และแปลความหมายเป็นข้อความที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
                สารสนเทศที่เป็น ความรู้ที่เกิดจากวิทยุ โทรศัพท์มือถือ ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ รอบตัวเราซึ่งอาจมาจาก วิทยุ       โทรทัศน์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ดาวเทียม โทรศัพท์ เครื่องจักร ที่เกี่ยวกับสารสนเทศได้ เครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ เช่น การฝาก ถอนเงินผ่านเครื่อง ATM การจองตั๋วเครื่องบิน การลงทะเบียน ฯลฯ
v เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ การเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผล การแสดงผลลัพธ์ การทำสำเนา และการสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมและสามารนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้  เช่น  การทำสำเนา เป็นการทำสำเนาข้อมูลหรือสารสนเทศที่จัดเก็บไว้ในสื่ออิเลคทรอนิกส์ชนิดต่าง ๆ ให้มีหลายชุด เพื่อสะดวกต่อการ เก็บรักษา และการนำไปใช้ อุปกรณ์ที่ใช้ทำสำเนา เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องถ่ายเอกสาร แผ่นบันทึก ฮาร์ดดิสต์หรือ CD-RON
v ข้อมูล (Data) หมายถึง   ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของสถานที่ 
 ฯลฯ โดยอยู่ในรูปแบบที่ เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมายและการประมวลผล    ซึ่งข้อมูลอาจจะ ได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลขหรือสัญญลักษณ์ใด ๆ ที่สำคัญจะ ต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่อง     ตัวอย่างของข้อมูล เช่น คะแนนสอบ ชือนักเรียน  เพศ  อายุ เป็นต้น     
v ฐานความรู้ หมายถึง    เป็นข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้ใช้ในการแก้ปัญหา เพื่อใช้เป็นฐานในการตัดสินใจของเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบผู้เชี่ยวชาญ 9)ระบบที่อาศัยความรู้เป็นพื้นฐาน เป็นระบบที่มีความเกี่ยวข้องกับการช่วยตัดสินใจ ซึ่งสามารถใช้ได้กับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS) ได้ทุกเรื่อง เช่น ระบบประมวลรายการที่เปลี่ยนแปลง (Transaction process systems) ระบบรายงานเพื่อการจัดการ (Management reporting systems) และระบบสำนักงาน (Office systems)
2.              โครงสร้างสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
1.  ระดับล่างสุด เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ทำงานประมวลผลข้อมูล ซี่งเรียกว่าระบบการประมวลผลรายการ (transaction processing system)
2.  ระดับที่สอง เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศ เพื่อใช้ในการวางแผนการตัดสินใจและการควบคุมที่เกี่ยวเนื่องกับงานประจำวัน ซึ่งเรียกว่า งานควบคุมการดำเนินงาน (operation control)
3.  ระดับที่สาม เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารจัดการระดับกลางใช้ในการจัดการและวางแผนระยะสั้นตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 1 ปี ซึ่งเรียกว่า งานควบคุมการจัดการ (management control)
4.  ระดับที่สี่ เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารจัดการระดับสูง สำหรับใช้ในงานวางแผนระยะยาว ซึ่งเรียกว่าการวางแผนกลยุทธ์ (strategic planning)

3.              วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบาย จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
1.  ยุคการประมวลผลข้อมูล (data processing era) เป็นยุคแรก ๆ ของการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ วัตถุประสงค์ช่วงนั้น คือเพื่อการคำนวณและการประมวลผลข้อมู ประจำวันเพื่อลดค่าใช้จ่ายและบุคลากรลง
2.  ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (management information system : MIS) เป็นยุคที่มีการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในงานด้านการตัดสินใจ ดำเนินการ ควบคุม ติดตามผล ตลอดจนวิเคราะห์งานของผู้บริหาร
3.  ระบบจัดการทรัพยากรสารสนเทศ (information resource management system : IRMS) เป็นการเรียกใช้สารสนเทศ เพื่อที่จะช่วยในการตัดสินใจในการนำองค์กรหรือหน่วยงานไปสู่เป้าหมายอันเป็นความสำเร็จ
4.  ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ (information technology era) ในปัจจุบันเทคโนโลยีมีความเจริญอย่างรวดเร็ว ทำให้มีทางเลือกและเกิดรูปแบบใหม่ ๆ ของสินค้าและบริการ รวมเรียกว่าเป็นที่มีการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคม เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดทำระบบสารสนเทศ โดยมุ่งเน้นของการให้บริการสารสนเทศ

ตัวอย่าง ระบบเอทีเอ็ม (Automatic Teller Machine : ATM) หรือระบบถอนเงิน หรือฝากเงินของธนาคาร โดยอัตโนมัติ เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกสบาย อย่างมากให้แก่ผู้ใช้ บริการธนาคาร และเป็น ตัวอย่างเทคโนโลยีระบบสารสนเทศ ที่ได้รับการนำมาใช้เป็นกลยุทธ์ในการแข่งขันทางธุรกิจ ดังรูป ในอดีต เมื่อเริ่ม มีการ ใช้ระบบเอทีเอ็ม เครื่องแรกของโลก หรือของประเทศไทย มีเหตุการณ์ที่ น่าสนใจ อะไรเกิดขึ้น และขณะนั้นธุรกิจธนาคาร ให้ทางเลือก ในการ บริการ กันอย่างไรบ้าง

























แบบฝึกหัด บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์



องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ 2
Bru-ray Blu-ray คืออะไร?
Blu-ray หรือ Blu-ray Disc (BD) เป็นชื่อของเทคโนโลยีมาตรฐานใหม่สำหรับออฟติคอลดิสก์ ที่ถูกผลักดันให้มาแทนมาตรฐาน DVD ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน โดย Blu-ray นั้นถูกพัฒนาขึ้นมาให้สามารถบันทึกข้อมูลวิดีโอรายละเอียดสูง high-definition video (HD) หรือใช้เก็บไฟล์ข้อมูลได้มากกว่า DVD หลายเท่าตัว ซึ่ง Blu-ray แบบ single-layer นั้นจะมีเนื้อที่เก็บข้อมูล 25GB ส่วนแบบ double-layer นั้นจะเก็บข้อมูลได้สูงถึง 50GB เลยทีเดียว โดยจะช่วยให้ภาพยนตร์ต่างๆที่ถูกบันทึกลงแผ่นดิสก์ Blu-ray นั้นมีรายละเอียดต่างๆทั้งด้านภาพ และเสียงสูงกว่า DVD ขึ้นไปอีก ส่วนที่มาของชื่อ Blu-ray นั้นจะมาจากการที่ใช้แสงเลเซอร์สีน้ำเงิน-ม่วงในการอ่านและเขียนแผ่นดิสก์ แทนการใช้แสงเลเซอร์สีแดงเหมือนกับ DVD ซึ่งแสงเลเซอร์สีน้ำเงิน-ม่วงนั้นจะมีความยาวของคลื่น 405nm ที่สั้นกว่าแสงเลเซอร์สีแดงที่มีความยาวคลื่น 650nm ทำให้สามารถบันทึกข้อมูลลงไปในแผ่นดิสก์ได้มากขึ้นในเนื้อที่เท่าเดิม โดยว่ากันคร่าวๆแล้ว Blu-ray จะสามารถเก็บวิดีโอความละเอียดสูงได้นานถึง 9ชั่วโมงในแผ่นดิสก์แบบ double-layer และสามารถเก็บไฟล์วิดีโอที่บีบอัดตามมาตรฐานที่ใช้ใน DVD ปัจจุบันนี้ได้นานต่อเนื่องถึง 23ชั่วโมงเลยทีเดียว รวม
ถึงบันทึกคละเอียดสูงด้วยมาตรฐานใหม่ๆได้ด้
1.องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง
ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย  6  องค์ประกอบสำคัญ  ได้แก่
     1.  ฮาร์ดแวร์  (Hardware)
     2. ซอฟท์แวร์ (Software)
     3.  บุคลากรทางคอมพิวเตอร์  (People ware)
     4.  ข้อมูล (Data)  และสารสนเทศ (Information)
     5.  ระเบียบปฏิบัติและกระบวนการ  (Procedure)
     6.  ระบบสื่อสารข้อมูล  (Data Communication)
2.ฮาร์ดแวร์ คืออะไร
    ฮาร์ดแวร์ หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน
 
            1. ฮาร์ดแวร์สำคัญที่พบใน Case ได้แก่
                    1.1 Power Supply
                    1.2 Mainboard และ ฮาร์ดแวร์ที่ติดตั้งหรือเป็นส่วนหนึ่งของ Mainboard ที่สำคัญ ได้แก่
                                1.2.1 CPU
                                1.2.2 RAM
                                1.2.3 Expansion Slots
                                1.2.4 Ports
                    1.3 Hard Disk
                    1.4 Floppy Disk Drive
                    1.5 CD-ROM Drive
                    1.6 DVD-ROM Drive
                    1.7 Sound Card
                    1.8 Network Card
            2. ฮาร์ดแวร์สำคัญที่อยู่นอก Case ที่สำคัญได้แก่
                    2.1 Keyboard
                    2.2 Monitor
                    2.3 Mouse
                    2.4 Printer
                    2.5 Scanner
                    2.6 Digital Camera
                    2.7 Modem
                    2.8 UPS
  
3.ซอฟท์แวร์คืออะไร
Software หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ทำหน้าที่สั่งการ ควบคุมการ ประมวลผลอุปรกรณ์คอมพิวเตอร์ ในส่วนที่เรียกว่า ฮาร์ดแวร์ แม้ว่าจะมีความเร็วสูงในการทำงาน
 มีหน่วยความจำสูง และมีอุปรกรณ์ประกอบมากมาย แต่อาร์ดแวร์ทำงานไม่ได้ ถ้าไม่มีชุดคำสั่งควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟท์แวร์หรือชุดคำสั่ง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือโปรแกรมระบบ และโปแกรมประยุกต์
1. โปรแกรมระบบ (system Soltware) ทำหน้าที่ทำงานที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์จำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.1 โปรแกรมระบบปฎิบัติการ (Operating System) ประกอบด้วยโปรแกรมการทำงานย่อยๆ ทำหน้าที่ต่างๆ กันระบบปฎิบัตการที่ใช้กันกว้างขวาง คือ Windows XP ,Windows Vista
Linux
1.2 โปรแกรมแปลภาษา (Language Translators) เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ผู้ใช้เขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษาสิก
4.หน้าที่ของอุปกรณ์รับข้อมูลเข้า คือ.....
เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการรับข้อมูลเข้าไปสู่หน่วยประมวลผลกลาง  ผู้ใช้สามารถป้อนข้อมูลคำสั่งต่างๆ ผ่านอุปกรณ์ เหล่านี้เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ ได้แก่
แป้นพิมพ์ (Keyboard)
เป็นหน่วยรับข้อมูลที่นิยมใช้กันมากที่สุด เพราะเป็นอุปกรณ์มาตรฐานในการป้อนข้อมูลสำหรับเทอร์มินัล และไมโครคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปจะมีลักษณะคล้ายแป้นของเครื่องพิมพ์ดีด แต่มีจำนวนแป้นมากกว่า
อุปกรณ์ชี้ตำแหน่ง (Pointing Devices)
เมาส์ (Mouse)เมาส์มีหลายขนาดลักษณะต่างกันออกไป แต่ที่นิยมใช้จะมีขนาดเท่าฝ่ามือโดยมีส่วนประกอบดังนี้ มีลูกกลมกลิ้งอยู่ด้านล่างหรือเป็นระบบแสง ส่วนด้านบนจะมีปุ่มให้กดจำนวนสอง สามหรือสี่ปุ่ม การเลื่อนเมาส์ให้ลูกกลมด้านล่างหมุน เพื่อเป็นการเลื่อนตัวชี้ตำแหน่ง (Cursor) บนจอภาพไปยังตำแหน่งที่ต้องการบนจอภาพ
การควบคุม
ลูกกลมควบคุม (Track ball), แท่งชี้ควบคุม (Track Point), แผ่นรองสัมผัส (Touch pad)
อุปกรณ์ทั้งสามแบบนี้มักพบในเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาเพื่อทำหน้าที่แทนเมาส์
จอยสติก (Joy Stick)
จอภาพระบบไวต่อการสัมผัส (Touch-Sensitive Screen)
จอภาพระบบสัมผัส (Touch Screen)
ระบบปากกาแสดง (Pen-Based System) 
ปากกาแสง (Light pen)
เครื่องอ่านพิกัด (Digitizing tablet)
5.หน้าที่ของอุปกรณ์ประมวลผล คือการประมวลผลของคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นจากการทำงานประสานกันของหน่วยประมวลผลและหน่วยความจำหลักหรือหน่วยความจำภายใน โดยหน่วยประมวลผลจะทำหน้าที่ควบคุมและปฏิบัติการตามขั้นตอนของโปรแกรม ในขณะที่หน่วยความจำจะเป็นที่พักของโปรแกรม ข้อมูลนำเข้า และผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลก่อนนำออกไปแสดงทางอุปกรณ์แสดงผล
6.หน้าที่ของหน่วยความจำ คือ เป็นส่วนหลักที่ใช้ในการเก็บข้อมูลในการประมวลผล โดยหน่วยความจำหลักจะมีลักษณะการจัดเก็บข้อมูลเป็นไบต์(Bite) หรือจัดเก็บเป็นตัวอักษร ซึ่งมรแต่ละไบต์จะมีหมายเลขตำแหน่ง(Address) ระบุไว้ หน่วยความจำที่ดีต้องมีความเร็วสูง มีความเสถียร และมีขนาดไม่จำกัด แต่ในตอนนี้ยังมีข้อจำกัดในเรื่องขนาดของหน่วยความจำหลัก มีการแบ่งระดับของหน่วยความจำออกเป็น 3ระดับ คือ
1.             หน่วยความจำขนาด
2.             หน่วยความจำขนาดกลาง
3.             หน่วยความจำขนาดใหญ่ 
7.จงบอกถึงหน่วยความจำสำรอง    เป็นหน่วยความจําที่สามารถรักษาข้อมูลได้ตลอดไป หลังจากที่ได้ทําการ
ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว หน่วยความจําสํารองมีประโยชน์ต่อระบบฐานข้อมูลเป็นอย่างมาก ถ้าปราศจากหน่วยความจําสํารองแล้วเราจะไม่สามารถเก็บรักษาข้อมูลเอาไว้ใช้ ได้ในอนาคต

ได้แก่ แผ่นบันทึก (Floppy disk หรือ Diskette), ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk), แผ่นซีดี (Compact Disk: CD), แฟลช ไดร์ฟ Flash Drive หรือ แฮนดี้ ไดร์ฟ Handy Drive
8. หน้าที่ของอุปกรณ์แสดงผล แสดงผล  เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับผลจากการประมวลผลที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก  ออกแสดงตามลักษณะของอุปกรณ์  ซึ่งมีอยู่ไม่กี่ประเภทที่นิยมใช้ คือ จอภาพ เครื่องพิมพ์
9.จงบอกถึงอุปกรณื ในการพิมพ์   เป็นอุปกรณ์แสดงผลออกทางกระดาษ  อาจเป็นกระดาษต่อเนื่อง  กระดาษพิมพ์ขนาดต่างๆ หรือแบบฟอร์มที่ได้กำหนด  เราสามารถแบ่งเครื่องพิมพ์ตามวิธีการพิมพ์ได้ 2 ประเภท ดังนี้  เครื่องพิมพ์ประเภทกระทบ  เครื่องพิมพ์ชนิดไม่กระทบ 
10.หน้าที่ของบุคลากรคอมพิวเตอร์  หมายถึง บุคคลที่ทำงานเกี่ยวข้องกับระบบงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกๆ ด้าน
v นักวิเคราะห์ระบบงาน ทำการศึกษาระบบงานเดิม ออกแบบระบบงานใหม่
v โปรแกรมเมอร์  นำระบบงานใหม่ที่นักวิเคราะห์ระบบออกแบบไว้มาสร้างเป็นโปรแกรม
v วิศวกรระบบ ทำหน้าที่ออกแบบ สร้างซ่อมบำรุง และดูแลรักษาฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ
v พนักงานปฏิบัติการ ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ หรือภารกิจประจำวัน ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์